Wiang Kum Kam : เวียงกุมกาม
Wiang Kum Kam is a recently
discovered ancient lost city in Chiang Mai. It was flooded and abandoned more
than 200 years ago. This ancient city was built in the reign of King Mengrai in
1296.
From the discoveries, there are 20 ancient remains
in and around Wiang Kum Kam including buildings and temples of Wat Chedi Liam
(originally: Wat Ku Kham), Wat Chang Kham, Wat Noi, Wat Pu Pia, Wat Ku Koa, Wat
E Kang, Wat Hua Nong, and Wat Pu Song. The remains are dating from 21-22
Buddhist centuries.
The whole site of Wiang Kum Kam is
too large to explore on foot. The best way to get around is to hire a local
guide with a pony carriage, open-air tram or bicycle. Visiting Wiang Kum Kam
Information Center first is recommended. At the information center, you will
see the importance and history of Wiang Kum Kam, details of the discoveries and
exhibitions.
เวียงกุมกาม เป็นเมืองโบราณ ที่พญามังราย (พ่อขุนเม็งราย) โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.
1829 โดยโปรดให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน
ไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ ในคูเมืองโบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในเวียงกุมกามและใกล้เคียง
เป็นเวียง (เมือง) ทดลองที่สร้างขึ้น ก่อนที่จะมาเป็นเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่
ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีระยะห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 5
กิโลเมตร
การสถาปนา
หลังจากที่พญามังรายได้ปกครองและพำนักอยู่ในนครหริภุญชัย (ลำพูน) อยู่ 2 ปี พระองค์ทรงศึกษาสิ่งหลายๆอย่าง และมีพระราชดำริที่จะลองสร้างเมืองขึ้น
เมืองนั้นก็คือ เวียงกุมกาม แต่พระองค์ก็ทรงสร้างไม่สำเร็จ เพราะเวียงนั้นมีน้ำท่วมอยู่ทุกปี
จนพญามังรายจึงทรงต้องไปปรึกษาพระสหาย นั่นก็คือ พ่อขุนรามคำแหง แห่ง สุโขทัย และ พญางำเมือง แห่ง พะเยา หลังจากทรงปรึกษากันแล้วจึงทรงตัดสินใจไปหาที่สร้างเมืองใหม่
ในที่สุดจึงได้พื้นที่นครพิงค์เชียงใหม่เป็นเมืองใหม่ และ เป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านนาต่อมา
จึงสรุปได้ว่าเวียงกุมกามนั้น เป็นเมืองที่ทดลองสร้าง เป็นเมืองจำลอง
การล่มสลายเวียงกุมกามล่มสลายลงเพราะเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ โดยช่วงเวลานี้อยู่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2101 - 2317 ซึ่งตรงกับสมัยพม่าปกครองล้านนา พม่าปกครองล้านนาเป็นเวลาสองร้อยกว่าปี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่กล่าวถึงเวียงกุมกามทั้งๆที่เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่นี้เป็นเรื่องร้ายแรงมากและสมควรที่จะบันทึกไว้ แต่ก็ไม่มีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ใดเลย ผลของการเกิดน้ำท่วมนี้ทำให้เวียงกุมกามถูกฝังจมลงอยู่ใต้ตะกอนดินจนยากที่จะฟื้นฟูกลับมา
สภาพวัดต่างๆ และโบราณสถานที่สำคัญเหลือเพียงซากวิหารและเจดีย์ร้างที่จมอยู่ดินในระดับความลึกจากพื้นดินลงไปประมาณ 1.50 -2.00 เมตร โดยวัดที่จมดินลึกที่สุดคือวัดอีค่าง รองลงมาคือ วัดปู่เปี้ย และวัดกู่ป่าด้อม
การขุดค้นพบ
ในปีพ.ศ. 2527 เรื่องราวของเวียงกุมกามก็เริ่มเป็นที่สนใจของนักวิชาการ และประชาชนทั่วไป ทำให้หน่วยศิลปากรที่ 4 ขุดแต่งบูรณะวัดร้าง (ขุดแต่งวิหารกานโถม ณ วัดช้างค้ำ) และบริเวณโดยรอบเวียงกุมกามอย่างต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. 2545
ปัจจุบันเวียงกุมกามก็ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เพราะเห็นว่าเวียงกุมกามมีความสมบูรณ์ และเป็นแหล่งความรู้การศึกษาในแบบของเรื่องราว
ทางสถาปัตยกรรมและ
ศิลปกรรมตลอดจนวัฒนธรรมล้านาต่าง ๆ โดยศูนย์กลางของการนำเที่ยวชมโบราณสถานต่างๆ
ในเขตเวียงกุมกามอยู่ที่วัดช้างค้ำ
ที่ตั้ง และลักษณะ
เวียงกุมกามมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวประมาณ 850 เมตร
ไปตามแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และกว้างประมาณ 600 เมตร
ตัวเมืองยาวไปตามลำน้ำปิงสายเดิมที่เคยไหลไปทางด้านทิศตะวันออกของเมือง
ดังนั้นในสมัยโบราณตัวเวียงกุมกามจะตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันตกหรือฝั่งเดียวกับเมืองเชียงใหม่
แต่เชื่อกันว่าเนื่องจากกระแสของแม่น้ำปิงเปลี่ยนทิศทาง
จึงทำให้เวียงกุมกามเปลี่ยนมาตั้งอยู่ทางฝั่งด้านตะวันออกของแม่น้ำดั่งเช่นปัจจุบัน
ปัจจุบันเวียงกุมกามอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณ ก.ม. 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ด้านขวามือ
ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี และอยู่ใกล้ฝั่งด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำปิง
สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์ของเวียงกุมกามตั้งอยู่บริเวณแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน
มีแม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสายสำคัญ โดยมีต้นน้ำอยู่ที่ดอยถ้วย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณแอ่งที่ราบแห่งนี้ซึ่งเป็นที่ราบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือตอนบน
เป็นที่ราบระหว่างภูเขา มีอาณาบริเวณครอบคลุมเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูนรวม 13 อำเภอ (โดย 10 อำเภออยู่ในจังหวัดเชียใหม่คือ
แม่แตง แม่ริม สัน ทราย ดอยสะเก็ด สันกำแพง เมือง สารภี หางดง สันป่าตอง
และจอมทอง และอีก 3 อำเภออยู่ในจังหวัดลำพูนคือ เมือง (ลำพูน) ป่าซาง และบ้านโฮ่ง)
โดยมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 940,000 ไร่
สถานที่สำคัญ
จากการสำรวจพบว่ามีอยู่มากกว่า
40 แห่ง ทั้งที่เป็น ซากโบราณสถาน และเป็นวัดที่มีพระสงฆ์โบราณสถานที่สำคัญ ได้
แก่วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดช้างค้ำและซากเจดีย์วัดกุมกาม วัดน้อย วัดปู่เปี้ย
วัดธาตุขาว วัดอีค่างซึ่งรูปแบบทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมนี้ มีทั้งแบบรุ่นเก่าและสมัยเชียงใหม่
รุ่งเรืองปะปนกันไป โดยเฉพาะที่วัดธาตุขาวนั้น มีเรื่องเล่าของ
พระนางอั้วมิ่งเวียงไชย พระมเหสีของพญามังราย พระนางได้มาบวชชีที่นี่
แล้วก็ได้สิ้นพระชนม์ที่นี่ด้วย สาเหตุก็คือพญามังรายได้มีพระมเหสีพระองค์ใหม่
เมื่อครั้งยกทัพไปตีพม่า พม่ายอมสวามิภักดิ์และถวายพระธิดาปายโคมาเป็นมเหสี
แต่สิ่งนี้ทำให้พระนางอั้วมิ่งเวียงไชยทรงเสียพระทัยมาก
เนื่องจาก พระนาง และ พญามังราย ได้เคยสาบานกันในขณะที่พำนักอยู่ในเมืองเชียงแสนว่า
จะมีมเหสีเพียงแค่พระองค์เดียว พระนางจึงเสียพระทัยมาก จึงตัดสินใจไปบวชชี และ
ยังมีเรื่องอีกว่า สาเหตุที่พญามังรายสวรรคตอสนีบาตในระหว่างที่เสด็จไปตลาดนั้น
ก็เพราะสาเหตุนี้
clip video ศึกษาเพิ่มเติม
Wiang Kum Kam ( เวียงกุมกาม )
Reviewed by Supakorn.farm
on
สิงหาคม 08, 2556
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: