อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ ประเทศไทย ลาว และบางส่วนของเวียดนามในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้อ่อนกำลังลงจนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักรสุโขทัยและแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรขอมสืบทอดอำนาจจากอาณาจักรเจนฬา มีสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะกับอาณาจักรข้างเคียง เช่น อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรจามปา มรดกที่สำคัญที่สุดของอาณาจักรขอมคือ นครวัด และ นครธม ซึ่งเคยเป็นนครหลวงเมื่อครั้งอาณาจักรแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด และยังมีลัทธิความเชื่อต่างๆ อย่างหลากหลาย ศาสนาหลักของอาณาจักรนี้ได้แก่ ศาสนาฮินดู พุทธศาสนามหายาน และพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งได้รับจากศรีลังกา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13
รัฐฟูนาน เป็นรัฐโบราณที่มีอิทธิพลเหนือดินแดน
แห่งลุ่มน้ำแม่โขง
แม่น้ำเจ้าพระยา
ก่อตั้งขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 7 กษัตริย์องค์แรกคือพราหมณ์โกณฑิญญะ ซึ่งมีเชื้อสายจากอินเดีย
ได้มีมเหสีคือ "นางพญาขอม"
อาณาจักรฟูนัน เป็นรัฐที่รุ่งเรืองอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่
6
ที่ตั้งของรัฐอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งประเทศกัมพูชา
เวียดนามตอนใต้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
บางตอนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และภาคใต้ของไทย ลงมาถึงแหลมมลายู
ฟูนานรวมตัวกันเป็นรัฐแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นรัฐชลประทานภายในแผ่นดินที่ประชาชนดำรงชีพด้วยการเกษตร
โดยใช้น้ำจากระบบชลประทานที่พัฒนาเป็นอย่างดี นอกจากนั้น
ฟูนานยังมีเมืองท่าสำหรับจอดเรือและค้าขายต่างประเทศ ฟูนาน
จึงมีรายได้จากการค้าขาย การเดินเรืออีกด้วย
ความเจริญและความเสื่อม
หลักฐานของจีนกล่าวว่า ฟูนานตั้งขึ้นโดยพราหมณ์โกณธัญญะ (Kaundinya) ผู้มีอิทธิพลเหนือชาวพื้นเมืองและได้แต่งงานกับนางพระยาหลิวเหย่
(Lieo-Yeh) ของแคว้นนี้ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 1
ฟูนานอยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ เมืองหลวงชื่อ วยาธปุระ (Vyadhapura) แปลว่า เมืองของกษัตริย์นายพราน (The city of the hunter king) ชื่อของฟูนานเทียบกับภาษาเขมร คือ พนม บนม หรือภูเขา ผู้ปกครองของฟูนาน
เรียกว่า กรุง บนม (Kurung Bnam) คือ เจ้าแห่งภูเขา (King
of the Mountain) วยาธปุระ อยู่ใกล้เขาบาพนม (Ba Phnom) และมีเมืองท่าชายทะเลที่สำคัญ คือ เมืองออกแก้ว มีแม่น้ำสายยาว 200
กิโลเมตรต่อเชื่อมเมืองท่าออกแก้วกับเมืองวยาธปุระ
เนื่องจากเมืองหลวงตั้งอยู่ส่วนสูงสุดของสามเหลี่ยม ปากแม่น้ำโขง ใกล้ภูเขาบาพนม
ตรงที่แม่น้ำทะเลสาบไหลมารวมกัน
จึงช่วยระบายน้ำในทะเลสาบไปยังพื้นที่ทางทิศตะวันตก ซึ่งช่วยในการเพาะปลูกได้ดี
สถานที่ตั้งทางด้านยุทธศาสตร์ของฟูนาน
ทำให้สามารถควบคุมช่องแคบเดินเรือที่เชื่อมฝั่งทะเลของอ่าวไทยเข้ากับทะเลอันดามันและเมืองท่าต่าง
ๆ ของจีนทางตอนใต้ เห็นได้ชัดว่า ได้ให้ความมั่งคั่ง
และอิทธิพลทางการเมืองอย่างสำคัญยิ่ง ทำให้ฟูนานมีอำนาจปกครองเหนือเมืองลังกาสุกะ
(Langkasuka มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองปัตตานี้)
และเมืองตามพรลิงก์ (Tambralinga มีเมืองหลวงอยู่ที่นครศรีธรรมราชหรือไชยา)
เมืองทั้งสองตั้งอยู่สองฝั่งเส้นทางเดินเรือค้าขายที่สำคัญ
ฟูนานยังมีอำนาจเหนือเจนฬา ซึ่งอยู่ตอนเหนือของฟูนาน
ฟูนานปกครองเหนือดินแดนในอินโดจีนส่วนใหญ่ถึงห้าศตวรรษ
การขนส่งภายในฟูนานใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ
ประชากรอาศัยอยู่ริมฝั่งน้ำ ปลูกบ้านแบบใต้ถุนสูง กีฬาที่โปรดปราน คือ การชนไก่
ชนหมู ภาษีอากรจ่ายเป็นทอง เงิน ไข่มุก น้ำหอม ฟูนานได้ติดต่อค้าขายกับตะวันตกด้วย
เพราะจากการขุดค้นได้พลรากฐานของอาคารหลายแห่งที่เมืองออกแก้ว
ได้พบหลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างฟูนานกับตะวันตก เช่น เหรียญโรมันต่าง ๆ
มีรูปจักรพรรดิโรมัน แหวนจารึกภาษาอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 2 – 5 หินสลักรูปต่าง ๆ ที่ได้แบบมาจากกรีก
ลักษณะของวัฒนธรรม
ลักษณะของวัฒนธรรมที่เมืองออกแก้ว
เป็นแบบผสมกันระหว่างวัฒนธรรมพื้นเมืองและวัฒนธรรมอินเดีย เช่น
ประเพณีการบูชาภูเขาอันศักดิ์สิทธิ์ และเจ้าหญิงธิดาพญานาคของชาวฟูนาน
ได้สืบทอดต่อมาเป็นธรรมเนียมที่กษัตริย์กัมพูชาทรงปฏิบัติ
ส่วนลักษณะของสถาปัตยกรรมเป็นแบบวัฒนธรรมอินเดีย ได้แก่
โบราณสถานของกัมพูชาสมัยก่อนนครวัด นอกจากนั้น มีพระพุทธรูปแบบคุปตะ
ภาพปั้นพระวิษณุสวมมาลาทรงกระบอก และภาพปั้นพระหริหระ ล้วนแสดงให้เห็นว่า
ประติมากรชาวฟูนานได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากอินเดียสมัยราชวงศ์ปาลวะ
และราชวงศ์คุปตะ ทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู มีภาษาสันสกฤต
ซึ่งเห็นได้จากบันทึกของชาวฟูนานที่บันทึกไว้คราวมีงานเฉลิมฉลองรัชกาลพระเจ้าโกณธิญญะที่
2 (สวรรคต ค.ศ. 434) และรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 (ครองราชย์ ค.ศ. 478 – 514) ที่มีประเพณีการจัดงานต่าง ๆ
ซึ่งนอกจากจะแสดงถึงอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียแล้ว
ยังปรากฏคำลงท้ายพระนามกษัตริย์ฟูนานว่า “วรมัน” ภาษาสันสกฤต แปลว่า “ผู้อยู่ใต้การอุปถัมภ์” ที่อยู่ในวรรณะกษัตริย์ของอินเดียนิยมใช้กัน สิ่งเหล่านี้
ล้วนแสดงให้เห็นอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียที่มีต่อรัฐฟูนาน
ฟูนานมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน ดังนั้น
เรื่องราวของฟูนานจึงปรากฏในบันทึกของจีน ที่กล่าวไว้ว่า เมืองต่าง ๆ
ในฟูนานมีกำแพงล้อมรอบ มีปราสาทราชวัง และบ้านเรือนราษฎรชาวฟูนานมีผิวดำ ผมหยิก
เดินเท้าเปล่า ทำการเพาะปลูก ชอบการแกะสลักเครื่องประดับเครื่องประดับ การสลักหิน
มีตัวอักษรใช้ลักษณะคล้ายกับอักษรของพวก “ฮู้” (อยู่ในเอเชียตอนกลาง ใช้อักษรแบบอินเดีย) มีทาสเชลยศึก มีการค้าทองคำ
ค้าเงิน ค้าไหน ทำแหวน สร้อยมือทองคำ ถ้วยชามเงิน
การพิจารณาคดีความใช้แบบจารีตนครบาล เช่น ล้วงหยิบ แหวนทองเหลือง
หรือไข่ในน้ำเดือด ใช้โซ่ร้อนจัดคล้องมือ แล้วเดินไป 7 ก้าว หรือดำน้ำพิสูจน์
เป็นต้น มีแหล่งน้ำใช้ร่วมกัน มีการทดน้ำ เพื่อการเพาะปลูก
สถาปัตยกรรมเป็นแบบหลังคา เป็นชั้นเล็ก ๆ จำนวนมาก
ตกแต่งด้วยช่องเล็กช่องน้อยครอบอยู่
จากบันทึกของชาวจีน
เรื่องราวของฟูนานได้ทราบจากบันทึกของชาวจีนชื่อ คังไถ่
ซึ่งเดินทางมากับคณะทูตจีน ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 3 นักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตกนำมากล่าวอ้างอิงกันมากแต่ปัจจุบันได้มีนักวิชาการนำบันทึกของคังไถ่มาวิเคราะห์กันใหม่
และได้แสดงความคิดเห็นคัดค้านข้อมูลเกี่ยวกับฟูนาน
โดยยกเหตุผลมาสนับสนุนข้อคัดค้านของตน ดังได้กล่าวมาแล้ว
ในเรื่องพัฒนาการของสังคมเผ่าเป็นสังคมรัฐ
และยังมีอีกหลายประเด็นที่ เคนเนธ อาร์.ฮอลล์
กล่าวไว้รวมทั้งตำนานเกี่ยวกับการเข้ามาตั้งฟูนาน โดยพราหมณ์โกณธิญญะมาแต่งงานกับนางพระยาหลิวเหย่ว่าเป็นเรื่องของการใช้ตำนานเพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์น่ายินดีและเพื่อสถานภาพของกษัตริย์
ความเห็นนี้ตรงกับ มิสตัน ออสบอร์น
ที่กล่าวว่า
“เรื่องดังกล่าวเป็นตำนานเล่ากันมา
เป็นการบิดเบือน เพื่อหวังผลทางปฏิบัติอย่างสูง
สำหรับคนระดับที่เป็นผู้ปกครองของรัฐนี้”
ฟูนานรับวัฒนธรรมอินเดียทั้งรูปแบบการปกครอง
สังคม วัฒนธรรม อิทธิพลวัฒนธรรมอินเดีย มีอยู่มากในชนระดับสูง
ส่วนชาวบ้านทั่วไปยังยึดมั่นในขนบประเพณีสังคมดั้งเดิมของตนอยู่ ฟูนานมีลักษณะเป็นรัฐชลประทาน มีการชลประทานเพื่อปลูกข้าว โดยการขุดคูคลองทำนบกักเก็บน้ำ
แล้วระบายไปยังไร่นาต่าง ๆ ขณะเดียวกัน ก็มีเมืองท่าชื่อเมืองออกแก้ว
เป็นแหล่งนำรายได้ผลประโยชน์มาสู่รัฐอีกทางหนึ่ง นำความอุดมสมบูรณ์มาให้ด้วย
ฟูนานยั่งยืนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่6 จึงตกอยู่ใต้การปกครองของรัฐเจนฬา
สาเหตุแห่งความพ่ายแพ้ หรือความเสื่อมสลายนี้ มิได้มีหลักฐานแน่ชัด จากพงศาวดารราชวงศ์ถัง
ซึ่งคณะทูตชาวจีนที่เดินทางไปยังดินแดนแถบฟูนาน ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6
กล่าวเพียงว่า ได้พ่ายแพ้แก่พวกเจนฬา กษัตริย์ฟูนานต้องหนีไปทางใต้
ฟูนานเป็นรัฐที่เรืองอำนาจแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สามารถรักษาเกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่ เป็นที่ระลึกแก่คนรุ่นหลัง
เห็นได้จากเหตุการณ์หลังจากที่รัฐเจนฬาเข้าครอบครองฟูนานแล้ว
กษัตริย์ของเจนฬาทุกพระองค์ได้รับเอาเรื่องราวของราชวงศ์ฟูนานเป็นของตนด้วย
และสมัยต่อมา คือ สมัยนครวัด กษัตริย์ทุกพระองค์ที่นครวัดถือว่าพระองค์สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์แห่งเมืองวยาธปุระทั้งสิ้น
จึงกล่าวได้ว่า
รัฐฟูนานน่าจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยแพร่ขยายอารยธรรมอินเดียในอินโดจีน
และเป็นรัฐที่เป็นรากฐานของประเทศกัมพูชา
ป้อมปราการเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรทะเลฟูนันซึ่งเจริญรุ่งเรืองในระหว่างที่
1 และ 6 ศตวรรษ CE และเป็นที่รู้จักกันมี
embraced มากของวันใหม่ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนามและกัมพูชา
ขุดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1940 โดยนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสหลุยส์ Malleret เมืองกอดพื้นที่บาง 1,100 เอเคอร์และมูลนิธิอิฐจัดตั้งและมีระบบที่กว้างขวางของคลอง. เยี่ยมในภูมิภาคประมาณ 250 CE ขณะที่การสำรวจทางทะเลไปยังประเทศอินเดียทูตจีนคังไดและ Zhu Ying อธิบาย Funan เป็นประเทศที่มีความซับซ้อนกับระบบการจัดเก็บภาษีของตัวเองที่ปกครองโดยกษัตริย์ที่อาศัยอยู่ในวังเวียง. ขุดเจาะ Malleret ที่ขุดพบโบราณวัตถุที่มีคุณค่าหลายชนิดรวมทั้งเครื่องปั้นดินเผาที่มีความซับซ้อนด้วยการออกแบบดอกไม้ที่ซับซ้อนสกุลเงินทองและเงินเพชรพลอยและรูปปั้นและ สีสรรของเหล่าทวยเทพและพระพุทธศาสนาฮินดูเช่นพระพิฆเนศวรและพระนารายณ์. อย่างมีนัยสำคัญ Malleret ยังค้นพบหลักฐานของการค้าทางทะเลที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการ Eo Óc และประเทศที่ไกลออกไปเป็นเปอร์เซียและจักรวรรดิโรมัน. ตั้งแต่ 1,975 ยิบย่อยอื่น ๆ อีกมากมายได้รับการดำเนินการในประเทศเพื่อนบ้าน จังหวัดภาคใต้ของเวียดนามเผยให้เห็นพระธาตุที่มีค่ามากกว่าหลายพันคนของอารยธรรมÓc Eo-Funan. หลายสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้กำลังอยู่กับมุมมองที่โฮจิมินห์ซิตี้พิพิธภัณฑ์พิพิธภัณฑ์นามประวัติน้ำและจำนวนของพิพิธภัณฑ์จังหวัดในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง
ขุดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1940 โดยนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสหลุยส์ Malleret เมืองกอดพื้นที่บาง 1,100 เอเคอร์และมูลนิธิอิฐจัดตั้งและมีระบบที่กว้างขวางของคลอง. เยี่ยมในภูมิภาคประมาณ 250 CE ขณะที่การสำรวจทางทะเลไปยังประเทศอินเดียทูตจีนคังไดและ Zhu Ying อธิบาย Funan เป็นประเทศที่มีความซับซ้อนกับระบบการจัดเก็บภาษีของตัวเองที่ปกครองโดยกษัตริย์ที่อาศัยอยู่ในวังเวียง. ขุดเจาะ Malleret ที่ขุดพบโบราณวัตถุที่มีคุณค่าหลายชนิดรวมทั้งเครื่องปั้นดินเผาที่มีความซับซ้อนด้วยการออกแบบดอกไม้ที่ซับซ้อนสกุลเงินทองและเงินเพชรพลอยและรูปปั้นและ สีสรรของเหล่าทวยเทพและพระพุทธศาสนาฮินดูเช่นพระพิฆเนศวรและพระนารายณ์. อย่างมีนัยสำคัญ Malleret ยังค้นพบหลักฐานของการค้าทางทะเลที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการ Eo Óc และประเทศที่ไกลออกไปเป็นเปอร์เซียและจักรวรรดิโรมัน. ตั้งแต่ 1,975 ยิบย่อยอื่น ๆ อีกมากมายได้รับการดำเนินการในประเทศเพื่อนบ้าน จังหวัดภาคใต้ของเวียดนามเผยให้เห็นพระธาตุที่มีค่ามากกว่าหลายพันคนของอารยธรรมÓc Eo-Funan. หลายสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้กำลังอยู่กับมุมมองที่โฮจิมินห์ซิตี้พิพิธภัณฑ์พิพิธภัณฑ์นามประวัติน้ำและจำนวนของพิพิธภัณฑ์จังหวัดในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง
อาณาจักรฟูนาน Funan kingdom
Reviewed by Supakorn.farm
on
กรกฎาคม 29, 2556
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: