Ancient City Dong Lakhon
เมืองโบราณ
" ดงละคร
เมืองดงละคร
แต่เดิมเรียกกันว่า “ เมืองลับแล ” เป็นสถานที่ตั้งเมืองโบราณสมัยขอมมีอำนาจ
มีแนวกำแพงเป็นเนินดินและคูเมืองปรากฏอยู่ ชาวบ้านเรียกกันว่า “ สันคูเมือง ” มีคูน้ำล้อมรอบ ซึ่งเป็นแบบเมืองทวารวดีทางภาคกลางของไทย
ความรุ่งเรืองที่เด่นชัดแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกเริ่มในราว พุทธศตวรรษที่ 14-16 เป็นวัฒนธรรมแบบทวารวดี
ช่วงที่สองราวพุทธศตวรรษ ที่ 17-19 เป็นวัฒนธรรมเขมรและวัฒนธรรมก่อนกรุงศรีอยุธยา โดยสันนิษฐานว่าน่าจะมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับเมืองศรีมโหสถ
ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 55กิโลเมตรโบราณวัตถุที่ค้นพบ
เช่น เศียรพระพุทธรูปกะไหล่ทอง ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ตราประทับหัวแหวนรูปปู ช้าง
แหวนสำริด ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน ตุ้มหูสำริด
ตำนานเมืองลับแลนั้นยังเล่ากันว่า
เมืองนี้เคยเป็นเมืองของราชินีขอม ซึ่งเป็นที่รโหฐาน ผู้อื่น ไม่สามารถเข้าออกได้
ประกอบกับลักษณะของบริเวณเมือง มีไม้ใหญ่ขึ้นอยู่ทั่วไป ใครเข้า ไปแล้วอาจหาทางออกไม่ได้
จะต้องวนเวียนอยู่ในดงนั้นเองและในวันโกนวันพระ จะได้ยินเสียงกระจับปี่ ซอ
ปี่พาทย์ มโหรีขับกล่อม คล้าย ๆ กับมีการเล่นละครในวัง ต่อมาชาวบ้าน
จึงเรียกกันว่า “ดงละคร ” หรืออีกนัยหนึ่ง คำว่า “ ดงละคร ” นั้นอาจเพี้ยนมาจาก “ ดงนคร ”นั่นเอง
เมืองโบราณดงละคร
เป็นเมืองโบราณสมัยทวาราวดี ตั้งอยู่ในเขตตำบลดงละคร อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ห่างจากตัวจังหวัดนครนายกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ
5 กิโลเมตร จุดสูงสุดของเมืองอยู่ที่เนินดินทางด้านทิศตะวันออก
สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 34 เมตร เมืองโบราณดงละครเป็นเมืองรูปไข่เกือบกลม
มีคูน้ำและคันดินโดยรอบ มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ไร่
และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 700-800 เมตร
เดิมมีแนวกั้นเป็นคันดินสองชั้นแต่ปัจจุบันเหลือเพียงชั้นนอกชั้นเดียว
คันดินชั้นนอกมีความสูงกว่าคันดินชั้นใน แต่คันดินชั้นในมีความหนามากกว่า
ลักษณะการสร้างเมืองนั้นติดกับแม่น้ำนครนายกสายเดิม ซึ่งติดต่อกับชายฝั่งทะเลได้
เหมาะแก่การค้าขายทางทะเล และยังสามารถทำการเกษตรได้โดยรอบ
เป็นลักษณะเดียวกับเมืองโบราณสมัยทวาราวดีในบริเวณใกล้กันของประเทศไทย
คาดว่ามีผู้อยู่อาศัยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-18
และอยู่ในเครือข่ายการค้าขายทางทะเลในสมัยโบราณ111เมืองโบราณดงละคร
ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52
ตอนที่ 75 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478
ที่มาของชื่อเมืองดงละคร
แต่เดิมชาวบ้านเรียกเมืองนี้ว่า
" เมืองลับแล" ส่วนชื่อเมืองว่าดงละครนั้นไม่ทราบที่มาแน่ชัด
บางแห่งกล่าวว่า เวลากลางคืน ได้ยินเสียงดนตรีวงมโหรีแว่วมาจากในเมืองกลางป่า คล้ายกับมีการเล่นละครในวัง
จึงเรียกว่าดงละคร หมายถึงมาเล่นละครในดง ส่วนอีกแห่งก็กล่าวว่า
เดิมเมืองนี้น่าจะเรียกว่า ดงนคร หมายถึงนครที่อยู่ในดง
แต่นานเข้าจึงเรียกเพี้ยนกลายเป็น ดงละคร แต่อย่างไรก็ตาม
ไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับที่มาของชื่อเมืองดงละครนี้
พระบรมราชาอธิบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองปราจีนบุรี ได้มีพระบรมราชาอธิบายเกี่ยวกับเมืองดงละครไว้ว่า
เป็นเมืองที่สร้างขึ้นโดยเจ้าแผ่นดินเขมรโบราณซึ่งเป็นสตรี
หรืออาจเรียกว่าราชินีแห่งแผ่นดินเขมรโบราณนั่นเอง
โดยเมื่อราชินีองค์นี้ขึ้นครองแผ่นดินเขมร ได้เฟ้นหาชายรูปงามจากแคว้นต่างๆ
เพื่อเป็นคู่ครอง โดยได้พบชายชาวเขมรสองคนก่อน จึงได้รับเลี้ยงไว้
แต่ต่อมาได้พบกับชายอีกคนจากแผ่นดินเขมรเก่า (ปัจจุบันเป็นแผ่นดินไทย)
ราชินีเขมรพอพระทัยในชายผู้นี้มากจึงอยากจะรับเลี้ยงไว้อีกคน
แต่ชายสองคนก่อนไม่ยอม
ราชินีเขมรจึงสร้างเมืองใหม่ชายอีกคนคือเมืองดงละครซึ่งอยู่ใกล้กับอาณาจักรเขมร
แต่ต่อมาราชินีเขมรองค์นั้นก็ได้ประชวรและสิ้น
พระชนม์ไป
ไม่ได้มีราชบุตรสืบพระวงศ์ต่อไป
ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระราชวินิจฉัยไว้เมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรีไว้ว่าเมืองนี้เป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินโบราณ
ข้อสันนิษฐานของอดีตอธิบดีกรมศิลปากร
นายนิคม
มุสิกะคามะ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร สันนิษฐานต่อโดยประมวลจากพระบรมราชาอธิบาย
สรุปได้ความว่า เมืองดงละคร น่าจะสร้างหลังจากบริเวณนี้อยู่ในอาณาจักรไทยแล้ว
แต่สร้างโดยคนเขมร เนื่องจากพบหลักฐานหลายอย่างซึ่งเป็นศิลปะเขมรในเมืองดงละคร
เช่น คันฉ่องสำริ เทวรูปสำริด
นุ่งผ้าศิลปะแบบเดียวกับที่นครวัด เป็นต้น
สรุปว่า
เมืองดงละคร เป็นเมืองสมัยทวาราวดี ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากทั้งทวาราวดีและขอม
มีอายุตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 12-18
การล่มสลายของเมืองเก่า
ภายหลังพุทธศตวรรษที่
18 คาดว่ามีการเปลี่ยนเส้นทางการไหลของแม่น้ำนครนายกซึ่งแต่เดิมไหลผ่านทางทิศตะวันตกของเมืองดงละคร
กลายเป็นไหลอย่างปัจจุบันนี้
ทำให้เมืองที่เคยเจริญกลับไม่ได้รับความนิยมเพราะขาดน้ำ
ทำให้เมืองดงละครกลายเป็นเพียงเมืองเล็กๆ มีประชากรอยู่ไม่กี่คน
เพราะคนส่วนใหญ่ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ตามการไหลของแม่น้ำ
เป็นเมืองนครนายกในปัจจุบันนี้ ในช่วงที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 คาดว่าชาวบ้านได้ย้ายเมืองหนีไปอยู่บริเวณเขาใหญ่เพื่อหนีการรุกรานของพม่า ทำให้เมืองร้างไปอีก
ช่วงต้นรัตนโกสินทร์
มีพวกลาวพวน ลาวเวียง และมอญ มาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้ โดยยึดอาชีพทำนาเป็นหลัก
ซึ่งมักมีช้างป่าลงมากินข้าวในนาเสมอๆ แต่ต่อมาชาวบ้านย้ายมาอยู่เยอะเข้า
ช้างป่าเลยหนีไปอยู่ที่บริเวณเขาใหญ่แทน
การขุดแต่งทางโบราณคดี
เครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบในบริเวณเมืองโบราณดงละคร
หลังจากเมืองดงละครโบราณได้ล่มสลายไป
ต่อมาก็ได้มีชาวบ้านเข้ามาอยู่อาศัยในบริเวณนี้ โดยมากมีอาชีพทำการเกษตร
ซึ่งระหว่างทำการเกษตรมีการขุดดิน ชาวบ้านก็ได้ขุดพบของโบราณเรื่อยมา
จนกระทั่งในปี 2515ได้มีการขุดแต่งเมืองโบราณดงละครอย่างเป็นทางการโดยนักวิชาการ
โดยนายพิสิฐ เจริญวงศ์ ซึ่งเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากรในขณะนั้นได้ดำเนินการขุดแต่งและอนุรักษ์เมืองนี้มาเป็นลำดับ
และได้พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงการอยู่อาศัยของผู้คนในยุคพุทธศตวรรษที่
13-15 เช่น พระพิมพ์เนื้อเงิน ศิลปะแบบทวาราวดี เครื่องปั้นดินเผา
เครื่องเคลือบสีน้ำตาล เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถังและซ้อง
รวมทั้งลูกปัดแก้วหลายสี ลูกปัดแบบลูกตา (eye beads) ลูกปัดสลับสี
(mosaic beads) ลูกปัดหินคาร์เนเลียน และอะเกต ภาชนะดินเผาบางชิ้น มีนักวิชาการบางท่านให้ความเห็นไว้ว่าเป็นของเปอร์เซีย ลักษณะเป็นเครื่องเคลีอบสีฟ้าอ่อน
คาดว่ามาจากเมืองชีราฟของอิหร่าน และเมืองบาสราของอิรัก ซึ่งเครื่องปั้นดินเผาลักษณะเดียวกันนี้เคยพบที่แหลมโพธิ์ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี แสดงให้เห็นว่า
เมืองดงละครน่าจเป็นทางผ่านของการค้าจากทางภาคใต้
ลูกปัดสลับสี (mosaic beads) ลูกปัดหินคาร์เนเลียน
นอกจากนี้
ยังมีการขุดพบโบราณวัตถุทำจากควอตซ์ ซึ่งมีแหล่งแร่ควอตซ์อยู่บริเวณเขาแก้ว อำเภอบ้านนา ห่างจากดงละครราว 20
กิโลเมตร และพบกำไลสำริด 2 วง คาดว่าจะมาจากเมืองลพบุรี นอกจากนี้ยังพบขวานหินขัดจำนวนมากที่ผลิตจากหินแอนดีไซต์และหินไรโอไลต์
ซึ่งมีแหล่งผลิตที่บ้านห้วยกรวด จังหวัดกระบี่ จึงสันนิษฐานว่าเมืองดงละครน่าจะเป็นทางผ่านในการค้าขายผ่านมาจากทางใต้ก็ได้
โบราณสถาน
แนวกำแพงตัวเมือง
บริเวณทางขวาของภาพในเงาไม้ จะเห็นแท่นอยู่ 2
อัน อยู่ในเขตชั้นนอกของตัวเมืองดงละคร
ห่างประตูเมืองชั้นในทางทิศเหนือ 250 เมตร ลักษณะเป็นกำแพงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
กว้าง 12 เมตร มีทางเข้าอยู่ทางทิศใต้ ภายในมีแท่นตั้งสำหรับวางรูปเคารพอยู่ 2
แท่น (คาดว่าเดิมมี 3 แท่น) โดยในการขุดแต่งเมื่อปี 2531-2532
และในการบูรณะเมื่อปี 2536 พบโบราณวัตถุที่สำคัญดังต่อไปนี้
เศียรพระพุทธรูปกะไหล่ทอง
1. เศียรพระพุทธรูปกะไหล่ทอง
ศิลปะสมัยทวาราวดี
2. แผ่นทองคำขนาดเล็ก
3. เมล็ดข้าวสารดำ
4. ชิ้นส่วนภาชนะ
คาดว่าเป็นหม้อแบบมีสัน ศิลปะทวาราวดี
5. คันฉ่องสำริด
อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18
สันนิษฐานว่าโบราณสถานแห่งนี้เป็นศาสนสถาน
สร้างขึ้นก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 ใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจของชาวดงละครสมัยโบราณ
อยู่ในเขตชั้นนอกของตัวเมืองดงละคร
ห่างประตูเมืองชั้นในทางทิศเหนือ 250 เมตร ลักษณะเป็นแนวกรอบศิลาแลงกว้าง 3.7 เมตร
ยาว 4 เมตร ตรงกลางขุดพบสถูปศิลาแลงรูปทรงกระบอกขนาดใหญ่ซ้อนกัน 2 ชั้น
โดยในการขุดแต่งเมื่อปี 2532 พบโบราณวัตถุที่สำคัญดังนี้
1. พระพุทธรูปและแม่พิมพ์
ทำด้วยดินเผา ศิลปะทวาราวดี
2. เครื่องประดับ
เช่น แหวน กำไล ตุ้มหู ทำด้วยสำริด แหวนทำด้วยหินสีต่างๆ
3. ลูกปัดแก้ว
ลูกปัดหิน ประมาณ 2,000 เม็ด
4. หินแกะลาย
คาดว่าเป็นตราประทับ รูปปู รูปช้าง
สันนิษฐานว่า
อาจเป็นสถูปใช้บรรจุกระดูกของบุคคลสำคัญในเมืองนี้ในสมัยโบราณ หรืออาจเป็นสถูปที่ใช้ในการวางศิลาฤกษ์
เพราะพบของมีค่าหลายอย่างฝังปนอยู่ ลักษณะเดียวกับการฝังลูกนิมิตในปัจจุบัน
แผนผังเมืองดงละคร
คูเมืองเก่าของเมืองโบราณดงละครได้มีการขุดคูเมืองเพื่อป้องกันข้าศึก
โดยขุดคูผันน้ำจากแม่น้ำนครนายกสายเดิมเข้ามา
แต่เนื่องจากแม่น้ำนครนายกได้เปลี่ยนทิศทางการไหลไปแล้ว คูเมืองเดิมจึงตึ้นเขินกลายเป็นแอ่งดินที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่แทน
คันดินใช้เป็นกำแพงเมือง มีความสูงประมาณ 30 เมตร เดิมมี 2
ชั้น ปัจจุบันเห็นได้แต่ชั้นนอก
ชั้นในไม่เหลือร่องรอยให้เห็นได้ชัดแล้ว
สระน้ำที่ประตูเมืองทั้ง 4 ทิศ
จะมีสระน้ำอยู่ ปัจจุบันเห็นได้แต่ทางทิศเหนือที่ขุดแต่งแล้ว และทางทิศตะวันออก
แต่ทางทิศตะวันออกจะมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมจำนวนมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนนัก คาดว่าสระน้ำนี้มีไว้ให้ชำระล้างร่างกายให้สะอาดก่อนเข้าเมือง
และป้องกันไม่ให้ข้าศึกเอาซุงมากระทุ้งประตูเมืองได้
บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
บ่อน้ำนี้ตั้งอยู่ในแนวของแม่น้ำนครนายกสายเก่าซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนทิศทางการไหลไปแล้ว
บ่อนี้คาดว่าเป็นบ่อที่ขุดเอาศิลาแลงไปใช้สร้างโบราณสถานต่างๆ
ในเมืองดงละครสมัยโบราณ ต่อมาได้ถูกทิ้งร้างไปพร้อมกับการล่มสลายของเมืองดงละคร
จนกระทั่งปี 2533 มีการเปิดโรงเจสว่างอริยะธรรมสถาน มีเรื่องเล่าว่าทางโรงเจได้เชิญร่างทรงมาประทับ
ร่างทรงได้มายังบ่อน้ำนี้และให้น้ำไปประกอบพิธี
ตั้งแต่นั้นชาวบ้านก็ได้นำน้ำจากบ่อไปกินบ้าง อาบบ้าง
เชื่อว่าเป็นสิริมคงและทำให้หายจากโรคได้ ซึ่งชาวบ้านหลายคนก็ยืนยัน
แต่ก็ไม่ได้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มายืนยัน
โบราณสถานกลางเมืองดงละคร
อยู่ในเมืองชั้นใน
พบร่องรอยของเจดีย์สมัยทวาราวดี คาดว่ามีอายุประมาณ 1,000 ปี
โดยจากการสำรวจและขุดแต่งเมื่อปี 2539-2540 พบว่าเป็นโบราณสถานที่ถูกรบกวน
เหลือเพียงฐานก่อด้วยศิลาแลงเท่านั้น
จากการสันนิษฐานคาดว่าเป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำและมีปล้องไฉนซ้อนขึ้นไปข้างบน
และพบชิ้นส่วนจารึกคาถาเยธฺมมาฯ บนภาชนะดินเผาสันนิษฐานว่า
โบราณสถานแห่งนี้สร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นอย่างช้า
เพราะเป็นช่วงที่พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทได้รับความนิยม
และคงอยู่ต่อมาถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งประชาชนหันมานับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายาน
เพราะพบหลักฐานคือ เศียรพระพุทธรูปแบบนาคปรก และคาดว่าในบริเวณนี้
น่าจะมีการสร้างอาคารด้วยไม้ขึ้นมาทับบริเวณที่เป็นเจดีย์เดิม
เพราะได้ขุดพบหลุมเสาอาคาร และเครื่องถ้วยดินเผาสังคโลก
แต่สุดท้ายเมืองนี้ก็ได้ทิ้งร้างไปในที่สุดแต่ภายหลังจากการขุดแต่งเมื่อปี
2540 ทางกรมศิลปากรได้กลบปากหลุมบริเวณนี้ไปแล้ว
การเดินทางและการเข้าชม
จากกรุงเทพมหานคร
ให้เดินทางมาที่รังสิต และเลี้ยวเข้าถนนรังสิต-นครนายก ขับไปจนถึงแยกสามสาว
ให้เลี้ยวขวาขับไปตามทาง ผ่านเขื่อนนายก ข้ามคลองชลประทาน จนกระทั่งถึงวัดดงละคร
จะมีป้ายให้เลี้ยวขวาเข้าไปยังเขตเมืองโบราณเมืองโบราณดงละครเปิดให้เข้าชมทุกวัน
ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00
น. หากต้องการวิทยากรแนะนำ
ให้ติดต่อวิทยากรท้องถิ่นซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับโบราณสถาน
โดยจะมีป้ายบอกข้อมูลอยู่ตามตำแหน่งต่างๆ ของโบราณสถาน
ดงละคร Ancient City Dong Lakhon
Reviewed by Supakorn.farm
on
กรกฎาคม 24, 2556
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: