โบราณสถานในศาสนา : Vat Phu-Champasak-Laos



                                                
ปราสาทวัดภู ศูนย์กลางอำนาจ และความมั่งคั่ง พ. 1000-1300 : ชุมชนที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 เป็นศูนย์อำนาจในแถบนี้มีความสัมพันธ์กับเจนละ (Chenla) และจาม (Champa) ให้ความสำคัญกับส่วนยอดของภูตั้งแหลมเป็นแท่งคล้ายกับลาลึงค์ มีการตั้งศาสนสถานขึ้นที่เชิงเขาและเรียกภูยอดลึงค์นี้ว่าลิงค์ปารวัต (Lingaparvata)หรือลิงค์บรรพต ชาวบ้านเรียกกันว่าภูเก้า บางเอกสารเรียกภูควย เปรียบได้กับเขาไกรลาส (Kailasha) อันเป็นที่สถิตย์ของพระศิวะ และแม่น้าข้างหน้าเปรียบเสมือนมหาสมุทร ประดุจแม่คงคา  
 
 
ปราสาทวัดภู สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับและที่สักการะพระศิวภัทเรศวรShiva Bhadresvara) ที่เชิงเขาด้านหลังวัดมีน้าจากเขาไหลซึมลงมาถือเป็นน้าศักดิ์สิทธิ์เพราะไหลลงมาจากลิงคปารวัต สิ่งปลูกสร้างแรกเริ่มเกิดในราวศตวรรษที่ 10 และปรับปรุงใหม่ในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 และบุรณะต่อมาในสมัยของสุริยวรมันที่ 1 และ 2, และชัยวรมันที่ 7 ตามลาดับ ปรากฏในจารึกว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 โปรดให้ทิวากร (Divakara) พราหมณ์ราชครูสร้างและตกแต่งเพิ่มเติม สระน้ำอันหนึ่งเรียกชื่อตามท่านราชครูว่า ทิวากรตฏากะ (Divakaratataka) จากศิลาจารึกที่ค้นพบที่ปราสาทเขาพระวิหาร ระบุว่า ศิลาฤกษ์ได้นามาจากปราสาทวัดภู จึงนับว่าวัดภูเป็นวัดแม่ของปราสาทเขาพระวิหาร/จาปาสัก เป็นศูนย์กลางของจามมาก่อน( ดินแดนแถบนี้อุดมด้วยแร่ทองคา เงินและทองแดง)
 
 
ก่อนที่อาณาจักรฟูนัน (Funan) ซึ่งครอบครองตั้งแต่แหลมมลายู, อาณาเขตอีสานของไทย, ลาวตอนกลาง, เวียดนามและดินแดนเขมร จะเข้ายึดครอง บางตำราก็ว่าอาณาจักรฟูนัน มีศูนย์กลางอยู่ในแถบสุพรรณบุรีและขยายออกไปทางตะวันออกโดยรับวัฒนธรรมจากอินเดียที่แผ่มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 5 ภววรมันที่ 1 (Bhavavarman) ได้เข้ายึดครองดินแดนแถบนี้และประกาศให้อาณาจักรเจนละไม่อยู่ภายใต้อาณาจักรฟูนันอีกต่อไป พระอนุชาของพระองค์คือเจ้าชายจิตรเสน (Shitrasena) สร้างเมืองขึ้นทางฝั่งตะวันตกของแม่น้าโขงคือเมืองเชษฐปุระ (Srestapuraor shrestapura) เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรเจนละ และสถาปนาขึ้นเป็นมเหนทรวรมัน (Mahendravarman) ในเวลาต่อมา
 
 
พระเจ้าชัยวรมันได้สร้างปราสาทวัดพู จำปาสัก พ.ศ. 893-943 เพื่อถวายพระศิวะ โดยปราสาทวัดพูในศิลาจารึกเรียกว่า "ลึงค์ปรวตา" แปลว่า ภูเขาอันเป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์ และตามพงศาวดารของส่วยกล่าวว่า "อยู่ใกล้นครหลวง มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อว่า ลิงกิยโปโป (ลิงกภาวตา) หรือเขาศิวบรรพต ที่ยอดภูเขามีปราสาทหลังหนึ่ง มีทหารหนึ่งพันคนรักษาประจำอยู่ ปราสาทหลังนี้สร้างให้แก่เทพเจ้าองค์หนึ่ง โดยมีการฆ่าคนเป็นเครื่องบูชายัญทุกๆ ปี พระเจ้าแผ่นดินได้เสด็จไปในปราสาททำพิธีบูชายัญด้วยพระองค์เองในเวลากลางคืน"
 
 
ปราสาทวัดภู ตั้งอยู่ในนครจำปาสัก ลาวตอนใต้ อยู่ห่างจากปากเซไปตามถนนหมายเลข 13 ลงทางใต้ประมาณ 45 กิโลเมตร เดินทางผ่านเมืองเก่า จำปาสัก ไปประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงปราสาทวัดภูโบราณสถานในศาสนาฮินดู-พราหมณ์ที่สร้างในพุทธศตวรรษที่ 10 (เคยเป็นวัดด้วย ดังนั้น จึงมีงานประเพณีนมัสการวัดพูทุกๆ ปี ประมาณวันเพ็ญเดือน 3 ซึ่งจะตรงกับงานนมัสการพระธาตุพนมพอดี)
 

ปราสาทวัดพู เป็นปราสาทหินขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นในสมัยของขอมเรืองอำนาจ ตั้งอยู่บริเวณเขาศิวบรรพต หรือที่ชาวลาวเรียกภูเกล้า เป็นภูเขาที่มียอดลักษณะคล้ายศิวลึงค์ ลักษณะศิวลึงค์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินี้เรียกว่าสวยัมภูวลึงค์ และด้วยเหตุที่เขาศิวบรรพตคล้ายกับศิวลึงค์นี่เอง น่าจะเป็นแรงจูงใจในการสร้างเทวาลัยเพื่อประดิษฐานรูปเคารพตามความเชื่อฮินดูขึ้น ปราสาทวัดพูมีฐานะถึงขั้นเป็นอารามหลวงของอาณาจักร ก่อสร้างมาก่อนเขาพระวิหาร (เปรี๊ยะวิเฮียร์) และพนมรุ้ง (วะนัมรุง) ซึ่งสันนิษฐานกันว่าผู้ก่อสร้างน่าจะอยู่ในราชวงศ์เดียวกัน และสืบเชื้อสายต่อๆ กันมา โดยปราสาทวัดพูจะสร้างอยู่เชิงเขาตามความเชื่อฮินดู-พราหมณ์ที่ว่าเทพศิวะประทับอยู่บนเขาพระสุเมรุ
 
ชั้นนอกสุดของปราสาทเป็นบาราย หรือสระน้ำขนาดใหญ่ 3 สระ ผู้ใดจะมานมัสการพระศิวะต้องผ่านบารายก่อน อาจเปรียบได้กับการข้ามทะเลสีทันดรที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ ปัจจุบันคงเหลือเพียง 2 บาราย จากนั้นเป็นโคปุระ หรือซุ้มประตู รูปสี่เหลี่ยมโล่ง ไม่มีประตู สร้างใกล้กับบาราย สันนิษฐานว่าเมื่อพระเจ้าแผ่นดิน มานมัสการพระศิวะ จะเสด็จฯ ทางเรือแล้วมาขึ้นที่ตรงนี้ ปัจจุบัน โคปุระถูกรื้อลงมาแล้วสร้างอาคารสมัยใหม่แทน เป็นที่ประทับของเจ้ามหาชีวิตที่เสด็จฯวัดพู เมื่อพ.ศ. 2508
 

โรงท้าว โรงนาง หรือหอเปลื้อง เป็นอาคารลักษณะเหมือนตัวยู มีทางเข้าด้านหลัง 1 ด้าน และทางออก 2 ด้านทางด้านหน้า มีอาคารอีกหลังสร้างบังด้านหน้าเป็นรูปตัวไอ มีทางเข้าด้านหน้า 1 ด้าน และทางออก 2 ด้านทางหลัง ทางออกจะตรงกันกับอาคารด้านหลังรูปตัวยูพอดี อาคารทั้งสองจะเหมือนกัน
 
 
ส่วนอาคารของเทวสถานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีทางเข้า 3 ประตูด้านหน้า และอีก 2 ประตูด้านข้างซ้ายและขวา สองข้างอาคารเทวสถานซึ่งตามแผนผังจริงๆ จะเป็นหอคัมภีร์ หรือห้องสมุด แต่ปัจจุบันเหลือแค่ 1 หลังทางด้านซ้ายมือ จากยุคที่ปราสาทวัดพูเป็นวัดในพุทธศาสนา และทางวัดได้รื้อหอพระคัมภีร์ด้านขวาลง แล้วสร้างสิ่งปลูกสร้างขึ้นใหม่ อาคารเทวสถานมีทับหลังลวดลายงดงามและเด่นชัดทุกด้าน ส่วนภายในอาคารสร้างพระพุทธรูปไว้เคารพสัการะเมื่อครั้งยังเป็นวัด
 
 
โบราณสถานและโบราณวัตถุในบริเวณปราสาทวัดพู ยังมีบ่อน้ำเที่ยง หรือน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีน้ำตลอดทั้งปี สมัยก่อนจะต่อท่อเอาน้ำนี้มาใช้รดบนศิวลึงค์ มีหินสกัดรูปจระเข้ที่เกี่ยวข้องกับการบูชายัญ และรูปตรีมูรติ หรือเทพ 3 องค์ คือ พระพรหมผู้สร้าง พระนารายณ์ ผู้รักษา พระศิวะผู้ทำลาย
 






โบราณสถานในศาสนา : Vat Phu-Champasak-Laos  โบราณสถานในศาสนา : Vat Phu-Champasak-Laos Reviewed by Supakorn.farm on สิงหาคม 13, 2556 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.