เมืองเวสาลี Ancient City We Sali



Ancient City   We Sali
                    
       เมืองนี้มีชื่อเรียกกันมาว่า “เมืองไพสาลี” บัดนี้เป็นเมืองร้าง จากคำบอกเล่าของท่านผู้เฒ่าผู้แก่ได้กล่าวว่าเมืองไพสาลีนี้เคยเป็นเมือง หน้าด่านเล็กๆ ของกรุงละโว้ ในสมัยที่ขอมยังมีอำนาจอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิแห่นี้ สังเกตได้จากซากวัตถุโบราณเช่นพระปรางหอสมุดและพระพุทธปฏิมากร ทั้งที่แกะสลักด้วยหินหรือหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์มีลักษณะแสดงให้เห็นว่าเป็น ฝีมือของขอมโบราณเป็นส่วนมาก ซึ่งเป็นขอมในสมัยนั้นได้รับอารยธรรมมาจากอินเดีย และขอมก็ได้เคยเป็นเจ้าเป็นใหญ่ในดินแดนส่วนนี้มาก่อน ดังที่ครั้งหนึ่งมีหลักฐานในประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า เมื่อ ราว พ.ศ.๖๐๐ มีพราหมณ์หัวหน้าชาวอินเดียมาได้อภิเษกกับนางพระยาขอม แต่นั้นมาชาวอินเดียก็มีอิทธิพลเหนือขอมในด้านอารยธรรมตลอดกระทั่งศิลปวิทยา เมื่อ พ.ศ.๑๑๐๐ ถึง พ.ศ.๑๔๐๐ ขอมได้มีอำนาจและเจริญรุ่งเรืองในแหลมสุวรรณภูมินี้ ตลอดทั้งในเขตแคว้นโคตรบูร แคว้นโยนก และแคว้นทวาราวดีได้ตกอยู่ในอำนาจของขอมทั้ง ๓ แคว้น มีกรุงละโว้(ลพบุรี)เป็นราชธานีภาคกลาง
 

                   เมือง ไพสาลีนี้จึงได้สร้างขึ้นในสมัยนั้น มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันกับกรุงสยาม(สุโขทัย) นครโยนก เมืองสระหลวงหรือโอฆบุรี(พิจิตร) และเมืองศรีเทพ ซึ่งเมืองเหล่านี้ล้วนสร้างขึ้นไว้เป็นเมืองหน้าด่านของกรุงละโว้ทั้งนั้น เฉพาะเมืองศรีเทพที่กล่าวถึงนี้ก็เป็นเมืองที่ขอมได้สร้างขึ้น ในปัจจุบันนี้เป็นเมืองร้างมีวัตถุโบราณปรักหักพังเกลื่อนกลาดอยู่เช่นเดียว กัน ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ห่างจากอำเภอวิเชียรบุรีไปทางทิศตะวันออก ประมาณ ๖๐ กิโลเมตรมีขนาดตัวเมืองและอายุเวลาที่สร้างใกล้เคียงกันกับเมืองไพสาลีนี้ มาก และจำนวนเมืองหน้าด่านเหล่านี้ทางกรุงละโว้ก็ได้ส่งเจ้าเมืองชั้นลูกหลวง มาปกครองดูแลรักษาอยู่เรียกว่าเมืองรักษาด่านหรือเมืองหน้าด่าน 


                      ครั้นต่อมาในพ.ศ.๑๗๘๑ ไทยเข้าตีอาณาจักรสุโขทัย...ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของขอมอีกแห่งหนึ่งได้ ไทยก็ขยายอาณาเขตต่อไปโดยเที่ยวปราบปรามบ้านเล็กเมืองน้อยในตอนใต้ๆลงมาให้ ตกอยู่ในอำนาจของไทย เช่น เมืองศรีสัชนาลัย(สวรรคโลก) เมืองชากังลาว(กำแพงเพชร) เมืองสระหลวงหรือโอฆบุรี(พิจิตร) ตลอดมาถึงเมืองไพสาลีในแคว้นไตรตรึง(นครสวรรค์) เหล่านี้เป็นต้น เจ้าผู้ครองในสมัยนั้นมีตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองหน้าด่านชั้นลูกหลวง ได้สู้รบทำศึกกับไทยเป็นสามารถดังมีนามยุทธภูมิอยู่ที่ทุ่งนาโบราณหรือที่ เรียกว่า ”ทุ่งนาขอม” ปรากฏอยู่กระทั่งปัจจุบันนี้


                       ”ทุ่ง นาขอม”  สนามรบแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไพสาลีไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ผลแห่งการทำสงครามป้องกันเมือง ฝ่ายเจ้าเมืองไพสาลีเป็นฝ่ายปราชัยแก่ไทย ทำให้ราษฎรพสกนิกรชาวเขมรล้มตายลงในที่รบเป็นจำนวนมาก ที่เหลืออยู่ก็ได้อพยพหนีกระเจิดกระเจิงออกจากเมือง ไพสาลีไป ทรัพย์สมบัติที่ขนไปไม่ได้ก็ได้ขุดหลุมฝั่งซ่อนไว้ในดิน ดังที่มีผู้ขุดพบวัตถุโบราณแปลกๆในสมัยต่อๆมา นับแต่นั้นมาเมืองไพสาลีนี้ก็เป็นเมืองร้าง ไม่มีผู้ใดจะเอาใจใส่ดูแล..เมืองไพสาลีคงเป็นเมืองร้างมาประมาณร่วม ๔๐๐ ปี ลุ ถึงพ.ศ.๒๑๙๙ รัชสมัยสมเด็จพระนารายมหาราช ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนี้ ญวนกับไทยก็เริ่มชิงอำนาจกันขึ้นในเมืองเขมร นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๒๑๖ เป็นต้นมา ไทยต้องยกทัพไปปราบปรามจนถึงเมืองเขมร และอีกหนึ่งไทยก็ต้องพะว้าพะวังทำศึกติดพันกันกับไทยในแคว้นลาน นา(เชียงใหม่) ซึ่งในขณะนั้นตกไปเป็นเมืองขึ้นของพม่าอยู่ พระองค์ทรงดำริเห็นว่าหัวเมืองฝ่ายเหนือยังไม่สงบราบคาบลงได้ง่ายๆ เพราะมีพม่าคอยกีดกันและคอยหนุนหลังให้ ไทยในภาคเหนือเข้าสวามิภักดิ์ต่อพม่าเสมอมา พระองค์จึงคิดจะบูรณะซ่อมแซมเมืองร้างเก่าๆที่อยู่ใกล้ๆบริเวณแคว้นลานนาลง มา โดยปฏิสังขรณ์และสถาปนาให้มีเจ้าเมืองฝ่ายไทยไปปกครองรักษาอยู่ เป็นการคุมเชิงและป้องกันข้าศึกทางฝ่ายเหนือไว้

                         ฉะนั้นแล้วจึงโปรดให้เกณฑ์ชาวเมืองลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท และชาวเมืองบ้านเขาแก้วพยุหะคีรี ในเขตจังหวัดนครสวรรค์เดินทางมาเพื่อบูรณะเมืองเก่าๆจนกระทั่งมาถึงเมืองไพ สาลีนี้ เมื่อมาเห็นแค้วนเมืองไพสาลีนี้มีทำเลเหมาะโดยเป็นที่ราบลุ่มทำนาข้าวได้ ผลดีตลอด ทั้งมีลำห้วยลำคลองมีน้ำไหลผ่านอุดมสมบูรณ์ และเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ติดต่อกับเมืองลาด(เพชรบูรณ์) ทางทิศตะวันออก ติดต่อเมืองไตรตรึง(นครสวรรค์)ทางทิศตะวันตก และเป็นเขตติดต่อกับลพบุรี ทางทิศใต้เหมาะแก่การที่จะตั้งกองรักษาด่านป้องกันข้าศึกทางฝ่ายล้านนาได้ดี มาก จึงตกลงจะสร้างเมืองไพสาลีนี้ให้ถาวรต่อไป ในขบวนกองเกณฑ์ที่เดินทางมานี้ มีทั้งเดินทางบกและทางเรือใช้เรือเป็นยานพาหนะบรรทุกเสบียงอาหาร และสิ่งของที่จะใช้ในการก่อสร้างตัวเมืองมาพร้อมกัน โดยอาศัยลำห้วยลำคลองในสมัยนั้นใช้เป็นแนวทางที่จะนำเรือเป็นพาหนะขึ้นล่อง ได้สะดวก ไม่ตื้นเขินเหมือนอย่างสมัยนี้พอขบวนเรือและขบวนกองเกณฑ์เดินเท้ามาถึงบ้าน เสาธงชัย(คือบ้านสำโรงชัยในปัจจุบัน) น้ำในลำคลองยิ่งไหลเชี่ยวและบางตอนก็มีน้ำลึกมาก บางแห่งมีน้ำไหลโกรกน่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก 


                        ในฤดูนาน้ำในลำคลองนี้ไหลเชี่ยวตลอดทั้งฤดู ส่วนในฤดูแล้งบางตอนน้ำก็แห้งจะมีน้ำขังอยู่บางตอนส่วนที่ลึกๆ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ”วัง” ดังมีชื่อเรียกกันอยู่กระทั่งทุกวันนี้ เช่น วังเตียน วังตาสุก เหมืองเรือ วังสำโรง คลองรัก วังทอง วังดาษ วังกรด วังช้างข้าม วังตะหลุก วังตาเถียร วังมะเดื่อ วังข่อย พอถึงวังห้วยใหญ่ก็แยกเป็นลำน้ำสองสาย สายหนึ่งแยกเข้าสู่วังล้อมได้มาจอดเรือรวมกันอยู่ที่อู่เรือดังปรากฏชื่อ เรียกกันว่า ”อู่เรือ” ติดปากชาวบ้านอยู่กระทั่งทุกวันนี้ สายหนึ่งขึ้นสู่ทิศตะวันออกไปบ้านวังกระโดนบ้านตะคร้อในปัจจุบัน 

                        เมื่อพิจารณาหลักฐานทั้ง จากหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการขุดค้นพบของกรมศิลปากร จากเรื่องราวที่ ครูบุญมี ศรีอุทิศ ได้จดบันทึกไว้ และจากเรื่องราวการจำอดีตชาติได้ของ นางสุรางคนา สันนิษฐานว่า ในอดีตชาตินางสุรางคนาอาจจะเคยมีชีวิตอยู่ในสมัยของอาณาจักรทวาราวดี คือประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ เมื่อครั้งที่ขอมหรือเขมรยังเรืองอำนาจอยู่ในดินแดนแถบนี้ และจากการที่เธอบอกว่า เธอชื่อ “ฟ้าแตง” นั้น คำว่า “ฟ้า” ในภาษาเขมรหมายถึง “พญา” เป็นคำที่ใช้เรียกบุคคลชั้นสูงตั้งแต่ระดับขุนนางจนถึงเจ้าแผ่นดิน จึงสันนิษฐานได้ว่าเธออาจจะเป็นธิดาของขุนนาง เจ้าเมือง หรือเจ้าแผ่นดิน ส่วนเรื่องราวของลำน้ำใหญ่ที่เด็กหญิงสุรางคนาในขณะนั้นพูดถึงก็มีหลักฐาน ว่าน่าจะมีอยู่จริง ถ้าลำน้ำใหญ่ในอดีตมีอยู่จริง ในอดีตชาติฟ้าแตงและครอบครัวของเธอเคยล่องเรือผ่านบริเวณนี้จริง แสดงว่าบริเวณหมู่บ้านตะคร้อในยุคสมัยนั้นน่าจะเคยถูกใช้เป็นเส้นทางติดต่อ สัญจรกันทั้งทางน้ำและทางบก ระหว่างเมืองต่างๆในยุคสมัยนั้น โดยเฉพาะการติดต่อไปมาหาสู่กันระหว่าง เมืองศรีเทพ กับ เมืองไพศาลี ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่ในยุคสมัยเดียวกัน อยู่ในแนวระนาบเดียวกัน และอยู่ห่างกันเพียง ๖๐ กิโลเมตรเท่านั้น


การเดินทาง
จากทางหลวงหมายเลข 3330 จากอำเภอตากฟ้า เลี้ยวขวาระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 27-28 ถนนบ้านหนองไผ่-บ้านโคกเจริญ ตรงหัวโค้งแรกจะมีทางตรงขึ้นไปประมาณ 1 กิโลเมตร เมืองเก่าเวสาลีอยู่ทางขวามือ 
เมืองเวสาลี Ancient City We Sali เมืองเวสาลี   Ancient City   We Sali Reviewed by Supakorn.farm on กรกฎาคม 24, 2556 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.